fbpx

Blockchain และ Bitcoin เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ลักษณะการทำงานของ Blockchain

Blockchain และ Bitcoin เกี่ยวข้องกันอย่างไร

อ่านบทความก่อนหน้า: ลักษณะการทำงานของ Blockchain

Blockchain และ Bitcoin เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เมื่อพูดถึง Blockchain ก็จะได้ยินคำว่า Bitcoin 

 

กลับมาที่เรื่อง Bitcoin กันต่อ โดยปกติแล้ว เงิน คือสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและทรัพยากรที่เราต้องการ ความน่าเชื่อถือของเงินในแต่ละสกุลขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลแต่ละประเทศ แต่จากประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจของโลกและเรื่องราวของ QE ทำให้เราตั้งคำถามเกิดความสังสัยว่า เงินประเภทไหนที่ไม่ต้องมีรัฐบาลมาคอยค้ำ ไม่ต้องมีทองคำมาตัวเป็นประกันก็สามารถน่าเชื่อถือได้ด้วยตัวมันเอง เงินประเภทไหนที่จะไม่มีวันเพิ่มจำนวนอย่างไม่มีที่สิ้นสุดด้วยวิธีการ QE เงินประเภทไหนที่จะมีคุณสมบัติหายาก ปลอมแปลงไม่ได้ และแบ่งเป็นชิ้นส่วนย่อยๆ ได้ แบบที่เราทำกับทองคำได้ จึงเป็นที่มาของ Bitcoin เงินตราทางเลือกที่เป็นของมหาชน ดูแลโดยมหาชน ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งเป็นตัวกลาง มีความโปร่งใส ตรวจสอบธุรกรรมทั้งหมดได้ ซึ่งแนวคิดนี้เป็นจริงได้ ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกชื่อว่า Blockchain นั่นเอง

 

Bitcoin คือ สกุลเงินชนิดหนึ่งในรูปแบบของดิจิทัล ถูกสร้างขึ้นมาเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนในลักษณะเดียวกับทองคำ นั่นคือ มีจำนวนจำกัด หายาก ปลอมแปลงไม่ได้ โกงไม่ได้ หรือพูดอีกแง่ Bitcoin มีคุณสมบัติและคุณค่าไม่ต่างจากทองคำในอดีต ถูกสร้างขึ้นมาด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ Bitcoin ไม่มีรูปร่างและไม่สามารถจับต้องได้เหมือนธนบัตรหรือเหรียญเงินบาท ตามเนื้อหาด้านบน

การเริ่มต้น Blockchain นี้ Satoshi ได้โปรแกรมให้มีปริมาณ Bitcoin อยู่ในระบบ 21 ล้าน Bitcoin ว่ากันว่าตามมาตรฐานปัจจุบันจะใช้ได้ถึงช่วงปี 2140 (ซึ่ง ณ ตอนนี้ที่เขียนคือวันที่ 26 มกราคม 2561 ความเร็วในการหาค่า Hash ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก) Bitcoin ที่ว่าถึงจะใช้งานได้ครบ 21ล้าน BTC จากนั้นก็จะหา Bitcoin เพิ่มไม่ได้อีกเลย (อาจเกิดภาวะ Bitcoin ฝืด) และการเป็นเจ้าของ Bitcoin จำกัดอยู่แค่สองวิธี คือ หนึ่งหาเองด้วยการลงทุนเป็นผู้ขุด Bitcoin (หรือเรียกว่า Bitcoin Miner) หรือสอง ซื้อ Bitcoin ต่อจากผู้อื่นในราคาตลาด (ปัจจุบันคือ 1 BTC = 35,000 บาทโดยประมาณ)

 

อีกเช่นกัน มาถึงตรงนี้ในโลกเสมือนจริงไม่ได้มี Bitcoin สกุลเดียวแต่ยังมี Cryptocurrency หรือเงินดิจิทัลสกุลอื่นๆให้เราเข้าไปศึกษาอีกมาก เช่น Ripple, Namecoin, Bytecoin ฯลฯ ก่อนหน้านี้ในระยะเริ่มแรก หลายประเทศยังไม่ตอบรับและไม่มีกฏหมายรองรับเงินเหล่านี้ เนื่องจากไม่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของบัญชี ไม่มีคนควบคุม และเงินชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ในบัญชีเดียวอีกด้วย แต่ในช่วงระยะหลังเริ่มมีหลายๆประเทศออกมายอมรับเงินดิจิทัลกันมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เต็มตัวอยู่ดี ตราบใดก็ตามที่มนุษย์ยังให้ความเชื่อถือใน Cryptocurrency เราจึงหวังว่าจะสามารถแลกเงินโลกเสมือนกลับมาเป็นสิ่งของหรือสินค้าได้ไม่ต่างจากการซื้อขายด้วยเงินจริงหรือทองคำ และที่สำคัญคือ Cryptocurrency นี้ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ ไม่ว่าทรัมป์จะได้เป็นประธานาธิปดี ยุโรปจะแตก ญี่ปุ่นจะล้มละลาย รัสเซียกับสหรัฐจะเริ่มสงครามโลกกันใหม่ หรือจีนจะครองโลก ก็ไม่ได้มีปัจจัยเกี่ยวอะไรกับพื้นฐานของเงินชนิดนี้เลย ตัวมันเองยังคงอยู่อย่างเป็นเอกเทศ แตกต่างจากเงินดอลล่าร์ เยน หยวน หรือยูโร ที่นับวันจะผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลายปีที่ผ่านมาโดยไม่มีทีท่าว่าจะหยุดนิ่ง

 

ในบทความถัดไปเราจะพูดถึงกระแสของ Blockchain และสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เมื่อ Blockchian ทำอะไรได้มากกว่าแค่เรื่องการเงิน

 

เนื้อหา: มทนา วิบูลยเสข
อัพเดท: 26-01-2018

 

Blockchain และ Bitcoin เกี่ยวข้องกันอย่างไร

Blockchain และ Bitcoin เกี่ยวข้องกันอย่างไร

About Matana Wiboonyasake

Digital Marketing Executive | Aware Group ตั้งใจที่จะส่งมอบเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ เขียนให้อ่านง่ายและเข้าใจง่าย แม้ผู้ที่ไม่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีมาก่อนก็สามารถศึกษาร่วมกันได้ ยินดีที่จะนำเสนอเรื่องราวน่าสนใจด้านเทคโนโลยี มาร่วมเรียนรู้ด้วยกันนะคะ