fbpx

ภายหลังการบังคับใช้ PDPA และบทลงโทษของพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ทบทวนเรื่องของ PDPA ที่ภาคธุรกิจควรให้ความสำคัญ

ภายหลังการบังคับใช้ PDPA และบทลงโทษของพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ภายหลังการบังคับใช้ PDPA และบทลงโทษของพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 

บทความก่อนหน้า: ทบทวนเรื่องของ PDPA ที่ภาคธุรกิจควรให้ความสำคัญ


ภายหลังการบังคับใช้
PDPA

การที่เราจะยินยอมจะไม่เหมือนกับการยอมรับข้อตกลง (Agree) ที่ยาวเหยียดโดยที่เราไม่ได้อ่านข้อความ เพราะกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลจะมีโทษทั้งทางแพ่ง อาญา และทางปกครองด้วย ฉะนั้นเจ้าของข้อมูลจะต้องอ่านให้ละเอียด เพื่อดูว่าจุดประสงค์ของการเก็บข้อมูลนี้ถูกนำไปใช้ตรงวัตถุประสงค์หรือไม่ หากเรายินยอมโดยไม่อ่าน ผู้ที่ได้รับการยินยอมหรือผู้ครอบครองข้อมูลของคุณสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ ตรงนี้ต้องเน้นย้ำเรื่องการอ่าน ศึกษาวัตถุประสงค์ หรือข้อบังคับให้ละเอียดก่อนให้ความยินยอมเสมอ เพื่อป้องกันการถูกละเมิดสิทธิ

บทลงโทษของการละเมิดกฎหมาย

 

โทษทางแพ่ง

  • ค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่ได้รับจริง และศาลสั่งลงโทษเพิ่มขึ้นได้แต่ไม่เกินสองเท่าของสินไหมทดแทนที่แท้จริง

 

โทษทางปกครอง

  • หากไม่ขอความยินยอมให้ถูกต้อง ไม่แจ้งรายละเอียดให้เจ้าของข้อมูลทราบ ไม่ให้เจ้าของข้อมูลเข้าถึงข้อมูลตามสิทธิ ไม่จัดทำบันทึกรายการ ไม่จัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) ไม่จัดให้มีการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของ DPO มีโทษปรับไม่เกิน 1,000,000บาท
  • เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากฐานทางกฎหมาย ไม่ได้แจ้งวัตถุประสงค์การใช้งานใหม่ เก็บข้อมูลเกินความจำเป็น ขอความยินยอมที่เป็นการหลอกลวงให้เข้าใจผิด ไม่จัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม ไม่แจ้งเหตุเมื่อมีการละเมิดข้อมูล โอนข้อมูลไปต่างประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ตั้งตัวแทนในราชอาณาจักร มีโทษปรับไม่เกิน 3,000,000บาท
  • เก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 5,000,000บาท

 

โทษทางอาญา

  • หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือผิดจากวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้ หรือ โอนข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวไปยังต่างประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
  • ทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย มีโทษจำคุกอย่างน้อย 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท
  • ทำไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น มีโทษจำคุกอย่างน้อย 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท
  • หากมีผู้ใด ล่วงรู้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ ตามพ.ร.บ.นี้ ห้ามนำไปเปิดเผยแก่ผู้อื่นเว้นแต่เปิดเผยตามหน้าที่ หรือเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนหรือพิจารณาคดี หรือได้รับความยินยอมเป็นหนังสือเฉพาะครั้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือเปิดเผยให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือข้อมูลคดีต่างๆ ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ มีโทษจำคุกอย่างน้อย 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท
  • ผู้กระทำความผิดที่เป็นนิติบุคคล หากกรรมการหรือผู้จัดการ หรือ บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น สั่งการหรือกระทำหรือละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ต้องรับโทษในส่วนที่กำหนดโทษอาญาไว้ด้วย

 

 

เปรียบเทียบโทษที่บริษัทยักษ์ใหญ่ในโลกที่ได้รับจาก GDPR

บทลงโทษจาก GDPR (General Data Protection Regulation) ซึ่งให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแบบใหม่ในยุโรป ช่วงพฤษภาคม 2561 –  มกราคม 2563 เราจะพบว่าค่อนข้างรุนแรงมาก จากตัวอย่างของบทลงโทษที่ 5 บริษัทยักษ์ใหญ่ได้รับจาก GDPR

 

ภายหลังการบังคับใช้ PDPA และบทลงโทษของพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 

ขอบคุณข้อมูลจาก:

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

marketingoops.com

techsauce.co


 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง:

1. ใครเป็นใครใน PDPA? และประโยชน์ที่ได้จาก PDPA ใครได้อะไร?

2. ทบทวนเรื่องของ PDPA ที่ภาคธุรกิจควรให้ความสำคัญ

ภายหลังการบังคับใช้ PDPA และบทลงโทษของพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

About Matana Wiboonyasake

Digital Marketing Executive | Aware Group ตั้งใจที่จะส่งมอบเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ เขียนให้อ่านง่ายและเข้าใจง่าย แม้ผู้ที่ไม่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีมาก่อนก็สามารถศึกษาร่วมกันได้ ยินดีที่จะนำเสนอเรื่องราวน่าสนใจด้านเทคโนโลยี มาร่วมเรียนรู้ด้วยกันนะคะ