fbpx

Google Mobile Advertising มีข้อดีอย่างไร

Google Mobile Advertising มีข้อดีอย่างไร

Google Mobile Advertising มีข้อดีอย่างไร

Google Mobile Advertising มีข้อดีอย่างไร

ใกล้ชิดติดหน้าจอ! นักโฆษณาสมัยนี้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น ห่างเพียงแค่จอมือถือกั้น

 

ในปัจจุบัน มือถือเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในทุกช่วงชีวิตของผู้บริโภค ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนถึงเวลาเข้านอน เพราะในยุคนี้ มือถือไม่ได้เป็นเพียงแค่อุปกรณ์สื่อสารเท่านั้น แต่กลายเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำให้เราเข้าถึงข้อมูลมหาศาลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเรา ในแง่ของการตลาด เราเรียกช่วงเวลาที่ผู้บริโภคใช้มือถือที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อว่า Micro moments

 

Micro moments คือช่วงเวลาที่ผู้บริโภคใช้มือถือเพื่อการเรียนรู้ เพื่อกระทำการบางอย่าง เพื่อค้นหาข้อมูล และเพื่อซื้อสินค้าและบริการ โดยช่วงเวลาเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างคงที่และต่อเนื่อง ประกอบกับการใช้งานมือถือที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถค้นหาข้อมูลของสินค้าและบริการได้ง่ายขึ้น จึงนับว่าเป็นโอกาสทองของนักโฆษณาที่จะอาศัย Micro Moments เป็นตัวช่วยทำให้เข้าถึงความต้องการของลูกค้ามากขึ้นนั่นเอง

 

Micro Moments แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่

 

(1) I-want-to-know moments หรือ ช่วงอยากศึกษาข้อมูล: จะเกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภคต้องการหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ แต่ยังไม่นำไปสู่การซื้อ

 

(2) I-want-to-go moments หรือ ช่วงอยากตามหาที่ตั้ง: จะเกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภคต้องการทราบตำแหน่งของสินค้าและบริการในพื้นที่นั้นๆ โดยจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจที่มีหน้าร้าน นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลแสดงว่า ผู้บริโภคในปัจจุบันค้นหาโดยใช้คีย์เวิร์ดคำว่า “ใกล้ฉัน” เพิ่มมากขึ้นถึงเท่าตัวเมื่อเทียบกับอดีต และผู้บริโภคมากกว่า 82% ใช้คีย์เวิร์ดนี้ในการค้นหาตำแหน่งสินค้าและบริการในพื้นที่

 

(3) I-want-buy moments หรือ ช่วงอยากซื้อ: ในช่วงนี้ ผู้บริโภคจะมีความพร้อมและต้องการซื้อสินค้าและบริการ ผู้บริโภคอาจจะกำลังตัดสินใจซื้อสินค้าและกำลังพิจารณาข้อจำกัดอื่นๆและข้อดี-ข้อเสียร่วมด้วย สังเกตุได้จากคำค้นหาที่ระบุประเภทสินค้าและรายละเอียดอื่นๆชัดเจน ตัวอย่างเช่น “กระเป๋าแบรนด์เนมผู้ชายพร้อมส่ง” และ “อาหารญี่ปุ่นเดลิเวอรี่ในเชียงใหม่”

 

(4) I-want-to-do moments: ช่วงอยากเรียนรู้: เมื่อผู้บริโภคต้องทำอะไรบางอย่างที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่เคยทำมาก่อน ผู้บริโภคจะใช้มือถือเพื่อค้นหาวิธีการและคำแนะนำต่างๆ หรือที่เรียกว่า “how-to”

 

เพิ่มเติม:

ในปี 2016 มีผู้บริโภคค้นหาข้อมูลในโลกอินเตอร์เน็ตกว่า 1 ล้านล้านครั้ง และมากกว่าครึ่งใช้มือถือในการค้นหาข้อมูล เรียกได้ว่ามือถือได้กลายเป็นช่องทางการค้นหาข้อมูลของยุคสมัยนี้และในอนาคตแล้วก็ว่าได้