มิถุนายน 7, 2019

Born with Style, Die with OT เกิดอย่างมีสไตล์และตายไปกับโรคบ้างาน

by Matana Wiboonyasake matana.w@aware.co.th

Born with Style, Die with OT เกิดอย่างมีสไตล์และตายไปกับโรคบ้างาน

 

คุณเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “Born with Style, Die with Beauty” ไหม? (เกิดมาพร้อมกับสไตล์และจากไปอย่างสวยงาม) พอผมได้ยินคำพูดนี้ทำให้ผมได้คิดว่าจริงๆแล้วการจากไปของใครสักคนนั้นมันจบลงแบบสวยงามเสมอไหม? ยิ่งการจากไปโดยมีสาเหตุจากการทำงานอย่างหนักหน่วงด้วยแล้ว ผมคิดว่ามันก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าพิศมัยเท่าไหร่นัก

บ่อยครั้งที่เราอาจจะคิดว่าการทำงานอย่างหนักเป็นการพัฒนาและพิสูจน์ตนเอง แต่ใครจะคิดว่าการทำแบบนี้บ่อยครั้งมันอาจจะมีผลอันตรายถึงชีวิตกันเลยทีเดียว ในวันนี้ผมอยากแนะนำให้คุณรู้จัก โรคคาโรชิ (Karoshi Syndrome) หรือ โรคทำงานหนักเกินไปจนถึงแก่ชีวิต

 

ในหลายปีที่ผ่านมามีข่าวมากมายเกี่ยวกับผู้เสียชีวิตจากการทำงานที่หนักเกินไป ไม่ว่าจะเป็น

  • นับตั้งแต่กลางปี 2017 จนถึงมีนาคมปีนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากการทำงานหนักหรือคาโรชิทั้งหมด 191 คน ด้านนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะพยายามหาทางแก้ไขปัญหาและปฏิรูประบบการทำงานใหม่ แต่ในขณะเดียวกันก็มีเสียงเรียกร้องจากญาติผู้เสียชีวิตว่าอย่าแก้ปัญหานี้ในระยะสั้น อยากให้มองในระยะยาวมากกว่า (ข้อมูลจาก Brandinside)
  • ผู้สื่อข่าวหญิงชาวญี่ปุ่น เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลว เนื่องจากโหมทำงานล่วงเวลากว่า 159 ชั่วโมง ภายในเวลา 1 เดือน (ข้อมูลจาก Workpointnews)
  • แพทย์หญิงชาวจีน เสียชีวิตขณะตรวจคนไข้ หลังจากทำงานติดต่อกันถึง 18 ชั่วโมง โดยไม่ได้พัก(ข้อมูลจาก Workpointnews)
  • หนุ่มเอเจนซี่ชาวฟิลิปปินส์ เสียชีวิตหลังจากเร่งทำงานให้ทันพรีเซนต์ในการประชุม จนร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ(ข้อมูลจาก https://workpointnews.com/2018/09/11/รวมเคส-ทำงานหนักจนตาย)
  • จนท.อินโดฯ สังเวยพุ่ง 280 ศพ หลังทำงานหนัก “วันเลือกตั้ง” จนป่วยเรื้อรัง-ล้มตาย (ข้อมูลจาก Khaosod)

ผมว่าเท่านี้ก็น่าจะเพียงพอแล้วว่า การโหมงานอย่างหนักนั้นอาจจะไม่ได้ดีเสมอไปสักทีเดียว จากข่าวเหตุการณ์ต่างๆที่ได้อ่านมาด้านบนอาจพอช่วยให้คุณสังเกตได้ว่า โรคที่เกิดในข่าวเหล่านั้นคือ โรคคาโรชิ

 

โรคคาโรชิ คืออะไร?

คาโรชิ (Karōshi) มีความหมายในภาษาไทยว่า “การทำงานหนักเกินไปจนนำไปสู่ความตาย” ซึ่งคำนี้บินตรงมาจากแดนอาทิตย์อุทัยหรือประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง สาเหตุที่สำคัญของการเสียชีวิตจากโรคคาโรชิ คือภาวะหัวใจวายและเส้นเลือดในสมองตีบตัน เนื่องมาจากความเครียดและการการรับประทานอาหารที่ไม่เพียงพอจากการทำงานอย่างหนัก ซึ่งปรากฎการณ์นี้ไม่ได้เกิดแค่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆของทวีปเชียอีกด้วย

 

ประวัติความเป็นมา

โรคคาโรชิ ถูกพบขึ้นที่ญี่ปุ่นในปี 1969 ด้วยการเสียชีวิตของคนงานชายอายุ 29 ปีในแผนกจัดส่งของบริษัท ซึ่งสาเหตุนั้นมีความเกี่ยวข้องกับภาวะทางหลอดเลือดสมอง แต่ในช่วงเวลานั้นยังไม่มีการใช้คำว่าคาโรชิในการบัญญัติชื่อโรค

 

แล้วคำว่าคาโรชิ เกิดขึ้นมาเมื่อไหร่?

คำนี้เกิดขึ้นมาในปี 1978 เพื่อพูดถึงการเพิ่มขึ้นของผู้คนจำนวนมากที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากหัวใจวายและเส้นเลือดในสมองตีบตัน โดยมีสาเหตุมาจากการทำงานที่หนักเกินไป และในช่วงปี 1960-1980 นั้น ยังได้เกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ (Bubble Economy) ในญี่ปุ่นขึ้นมาอีก จึงให้ได้มีผู้บริหารระดับสูงหลายคนเป็นโรคคาโรชิกันมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ชาวญี่ปุ่นได้หันมาตระหนักถึงเรื่องนี้และเริ่มใช้คำว่า คาโรชิ กันอย่างแพร่หลาย นอกจากโรคคาโรชิจะเกิดกับผู้บริหารระดับสูงที่ทำงานอย่างหนักหน่วงแล้ว โรคนี้ยังคงถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อผู้ใช้แรงงานอีกด้วย

ในปี 1987 กระทรวงแรงงานของญี่ปุ่นเริ่มเผยแพร่สถิติเกี่ยวกับคาโรชิ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบกันอย่างทั่วกัน

ในปี 1988 จากการสำรวจด้านแรงงาน พบว่าเกือบ 1 ใน 4 ของพนักงานชายมีชั่วโมงการทำงานมากกว่า 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (โดยชั่วโมงการทำงานปกติคือ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) เมื่อมีการตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงของเรื่องเหล่านี้ กลุ่มนักกฎหมายและแพทย์จึงได้ให้จัดตั้ง “สายด่วนคาโรชิ” (Karoshi Hotlines) ครอบคลุมทั่วประเทศ และพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ที่ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับคาโรชิ

 

ในบทความของ International Labour Organization (องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ) ได้ยก 4 กรณีตัวอย่างบุคคลที่เสียชีวิตจากโรคคาโรชิ

1.) นายเอ ทำงานในบริษัทแปรรูปขนมขบเคี้ยวรายใหญ่ เป็นเวลาถึง 110 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และเสียชีวิตจากอาการหัวใจวายเมื่ออายุเพียง 34 ปีเท่านั้น การเสียชีวิตของเขานั้นได้ถูกยอมรับจากกระทรวงแรงงานว่ามีความเกี่ยวข้องกับงานที่เขา

2.) นายบี ทำงานในบริษัทการพิมพ์ขนาดใหญ่ในโตเกียวเป็นเวลา 4,320 ชั่วโมงต่อปีรวมถึงทำกะกลางคืนด้วยก่อนที่จะเสียชีวิตลงจากโรคหลอดเลือดสมองเมื่ออายุ 58 ปี

3.) นายซี เป็นคนขับรถ ทำงานเป็นเวลากว่า 3,000 ชั่วโมงต่อปี หรือ 250 ชั่วโมงต่อเดือนเป็นเวลากว่า 15 ปีโดยที่ไม่มีวันหยุดเลยก่อนที่เขาจะเสียชีวิตลงโรคหลอดเลือดในสมองตอนอายุ 37 ปี

4.) นางดี พยาบาลอายุ 22 ปีเสียชีวิตลงด้วยอาการหัวใจวายหลังจากปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 34 ชั่วโมง จำนวน 5 ครั้งต่อเดือน

 

แม้โรคนี้จะเป็นภัยใกล้ตัวที่มาอย่างแนบเนียน แต่เราก็สามารถวางแผนป้องกันได้ด้วยวิธีง่าย ๆ คือ

1.) เมื่อมีปัญหาเมื่อไหร่ ควรแก้ปัญหาไปทีละเปลาะโดยเริ่มจากปัญหาที่แก้ง่ายที่สุดก่อน (ถ้าไม่แน่ใจว่าวเองมีปัญหาอะไรบ้าง เราแนะนำให้เขียนลิสต์เป็นข้อๆถึงปัญหาที่ตัวเรามีอยู่ตอนนี้) และไม่ควรนำทุกปัญหามาคิดรวมกันภายในครั้งเดียวเพราะจะยิ่งทำให้ปัญหานั้นซับซ้อนและเราจะยิ่งเครียดมากขึ้น

2.) ลองทำสมาธิเพื่อเข้าใจจิตใจของตนเองดู บางครั้งเราก็ใส่ใจเรื่องอื่นๆมากเกินไปจนละเลยในการทำความเข้าใจกับหัวใจของเราเองว่าต้องการอะไร

3.) ในเรื่องของการทำงานนั้นเราก็ควรทำไปเป็นขั้นเป็นตอนเช่นกัน ไม่ควรทำงานหลายๆอย่างภายในเวลาเดียวกัน เพราะอาจจะเกิดความผิดพลาดและนำไปสู่ความเครียดได้ ถ้าไม่แน่ใจว่าควรทำงานไหนเป็นลำดับแรก เราอาจจะลองถามหัวหน้างานว่างานไหนที่ด่วนหรือสำคัญที่สุดในเวลานั้น

4.) เมื่อเรารู้สึกร่างกายเหนื่อยล้าเกินไป หรือรู้สึกไม่สบาย เราก็ควรจะแจ้งหัวหน้างานให้ทราบถึงปัญหา โดยส่วนตัวเราเชื่อว่าหัวหน้างานที่ดีนั้นจะให้ความสำคัญต่อสุขภาพกายและใจของพนักงานเป็นสำคัญ เพราะถ้าพนักงานมีสุขภาพกายและใจดีแล้ว ผลงานที่ออกมาก็ย่อมมีประสิทธิภาพด้วย

5.) หมั่นออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ประโยคเหล่านี้อาจฟังดูเหมือนประโยคทั่วๆไปที่ใครเขาก็พูดกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่เรานำสิ่งดีๆเข้าร่างกายนอกจากจะให้ร่างกายของเราแข็งแรงแล้วนั้น การออกกำลังกายและกินอาหารดีๆยังคงส่งผลถึงพลังทางใจด้วยตามสำนวนที่ว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว”

 

เราขอแนะนำ หากคุณต้องการทำงานกับบริษัทที่ใส่ใจพนักงานอย่างแท้จริง มาสมัครงานกับเราสิ งานเยอะเราไม่กลัว ขยายทีมได้และขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง ดูตำแหน่งที่เปิดรับสมัครได้ที่ https://www.aware.co.th/it-jobs/

เพราะกลุ่มบริษัท Aware Group เราเน้นเรื่องความสมดุลของการทำงานและการใช้ชีวิต ถ้าเรามี Work-Life Balance ที่ดีแล้ว ก็จะมีเวลาและความตั้งใจในการทำสิ่งดีๆอีกมากมาย ทั้งการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับครอบครัว ดูหนังสุดโปรดกับแฟน ควงแขนช้อปปิ้งกับเพื่อน หรือทำกิจกรรมสุดโปรดแล้วคุณล่ะ? อยากมี Work-Life Balance ที่ดีไหม งั้นก็ส่ง Resume มาได้เลย!

Born with Style, Die with OT เกิดอย่างมีสไตล์และตายไปกับโรคบ้างาน

About Matana Wiboonyasake

Digital Marketing Executive | Aware Group

Uncategorized @th